วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร


ประวัติพระธาตุ

 

พระมหาธาตุวรมหาวิหาร เดิมเรียกว่า วัดพระบรมธาตุ เป็นวัดขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองโบราณ ค่อนมาทางทิศใต้ เนื้อที่ 25 ไร่ 2 งาน ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นวรมหาวิหาร เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้และประเทศไทย พระบรมธาตุเจดีย์มีลักษณะรูปแบบศิลปกรรมเป็นเจดีย์ทรงลังกาสูง 55.78 เมตร พระบรมธาตุเจดีย์ฐานบัวคว่ำถึงปลียอด 6.80 เมตร ใช้ทองคำเนื้อสิบหุ้มโดยรอบ ภายในวัด

 ตามตำนานกล่าวว่า องค์พระบรมธาตุเจดีย์ได้ก่อครอบพระทันตธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งฝังไว้ ณ หาดทรายแก้วแห่งหนึ่ง เรื่องมีอยู่ว่า นางเหมชาลากับเจ้าทนทกุมาร ผู้เป็นพระราชบุตรีและพระราชโอรสท้าวโกสีหราช แห่งเมืองทนทบุรี ได้นำพระทันตธาตุหนีไปลังกา เมื่อตอนที่ท้าวโกสีหราชเสียเมืองให้แก่ท้าวอังกุศราช แต่เรือแตกจึงได้พากันขึ้นบกที่หาดทรายแก้ว เอาพระทันตธาตุฝังไว้ที่หาดทราย แล้วจึงหลบหนีไป  ต่อมา พระอรหันต์ชื่อพระมหาเถรพรหมเทพ มาโดยนภากาศ ได้เห็นรัศมีพระทันตธาตุโชติช่วงขึ้นมาจากที่ฝัง จึงได้ลงไปนมัสการและทำนายว่า ในอนาคตสถานที่นี้จะมีพระยาองค์หนึ่ง มาตั้งเป็นเมืองใหญ่ ในกาลต่อมา พระยาศรีธรรมาโศกราช ได้ทรงก่อพระมหาธาตุสูง ๓๗ วา ไว้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าว เมื่อปี พ.ศ. ๑๐๙๘ แล้วได้สร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้น ตามหลักฐานทางพงศาวดารและทางโบราณคดี พบว่าพระยาศรีธรรมาโศกราช เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ปทุมวงศ์ ที่เป็นใหญ่อยู่ที่เมืองตามพรลิงค์ ได้ย้ายเมืองมาสร้างใหม่บนหาดทรายแก้ว เมื่อปี พ.ศ. ๑๖๒๐ พร้อมกับทรงสร้างพระบรมธาตุขึ้นไว้กลางเมือง พระองค์จึงได้เฉลิมพระนามใหม่ว่า พระยาศรีธรรมาโศกราช เพราะทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ดุจดังพระเจ้าธรรมาโศกราชของอินเดีย
 
       ตามที่กล่าวจารึกไว้ในศิลาจารึก หลักที่ ๒๔  ด้วยเหตุนี้ เมืองที่สร้างใหม่ ณ หาดทรายแก้วดังกล่าวจึงมีชื่อว่า นครศรีธรรมราช และเรียกกันในทางพระพุทธศาสนาว่าปาฏลีบุตรนคร จากศิลาจารึกบนเกาะลังกา มีความว่าในปี พ.ศ. ๑๗๙๐ พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช ทรงยกทัพเรือไปรบลังกา ได้ชัยชนะ  พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช นี้คือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่ ๕ เมื่อกลับจากลังกาแล้ว ก็ได้ให้ช่างก่อพระเจดีย์แบบลังกา สวมทับพระธาตุองค์เดิมที่เป็นแบบศรีวิชัย ทำให้พุทธศาสนาฝ่ายมหายานหมดไปจากนครศรีธรรมราชในครั้งนี้  ต่อมาในปี พ.ศ. ๑๘๑๕ ขุนอินทาราได้รับแต่งตั้งจากกรุงอโยธยา ให้มากินเมืองนครศรีธรรมราช  ขุนอินทาราได้ดำเนินการให้พระเถระเจ้าเมืองต่าง ๆ รวมทั้งคฤหบดีรับงานเสริมสร้างพระบรมธาตุ ที่ยังสร้างไม่เสร็จมาแต่เดิมจนเสร็จ มีพระระเบียงและกำแพงล้อมรอบ พระบรมธาตุเรียบร้อย ทางกรุงอโยธยาจึงเลื่อนขุนอินทาราขึ้นเป็น พระศรีมหาราชา  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ในสาส์นสมเด็จว่า พระมหาธาตุองค์เดิม เหมือนกันกับพระมหาธาตุไชยา พระสถูปที่เป็นพระมหาธาตุปัจจุบัน พวกลังกามาสร้างครอบพระมหาธาตุเดิมในภายหลัง เมื่อมีการซ่อมวิหารพระม้า ได้ขุดพื้นลงไปพบบรรไดพระธาตุเดิมอยู่ใต้ดิน เป็นอีกองค์หนึ่งต่างหาก

งานประเพณีประจำปีของวัดพระธาตุ
         งานประเพณีแห่ผ้าขึ้นพระธาตุ กระทำปีละสองครั้งคือ ในวันมาฆบูชา และวันวิสาขบูชา  เริ่มด้วยการนำผ้าเป็นแถวยาวมาก แล้วพากันแห่ผ้านั้นไปยังวัดพระมหาธาตุ กระทำทักษิณาวรรตองค์พระธาตุเจดีย์สามรอบ แล้วจึงนำไปยังวิหารม้า ซึ่งจะมีบันไดขึ้นสู่ภายในกำแพงแก้วล้อมรอบพระบรมธาตุเจดีย์ แล้วนำผ้าไปโอบรอบพระบรมธาตุเจดีย์ ตามตำนานมีว่า ประมาณปี พ.ศ. ๑๗๗๓  พระเจ้าธรรมาศรีโศกราช และพระญาติ รวมสามองค์ กำลังจะสมโภชพระบรมธาตุอยู่นั้น คลื่นได้ซัดผ้าแถบใหญ่และยาวผืนหนึ่ง ขึ้นมาที่ชายหาดปากพนัง บนผืนผ้ามีภาพเขียนเรื่องพระพุทธประวัติ เรียกว่า พระบต ชาวบ้านได้นำผ้าผืนนั้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช  ผ้าผืนดังกล่าวเป็นของพุทธศาสนิกชนกลุ่มหนึ่ง จะเดินทางไปลังกา เพื่อนำไปบูชาพระเขี้ยวแก้วที่ลังกา  แต่เรือโดนพายุล่มที่ชายฝั่งเมืองนคร พระองค์ได้นำผ้าผืนนั้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ จึงเกิดเป็นประเพณี มาจนถึงทุกวันนี้ ประเพณีตักบาตรธูปเทียน กระทำในวันแรม ๑ ค่ำ เดือนแปด เวลาบ่ายประมาณ ๑๔.๐๐ น. เป็นต้นไป พระภิกษุสงฆ์จากวัดต่าง ๆ มาพร้อมกันที่วัดพระมหาธาตุ ฯ  ยืนเป็นแถวยาวที่หน้าวิหารทับเกษตร  ชาวบ้านก็จะนำธูปเทียนใส่ในย่ามพระไปตามลำดับทุกรูป เสร็จแล้วก็ไปจุดเปรียง บริเวณหน้าพระพุทธรูปและฐานเจดีย์ทุกฐาน เพื่อเป็นพุทธบูชา


สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงวัดพระธาตุ

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้และประเทศไทย ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช กล่าวว่า เจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลา เป็นผู้นำเสด็จพระบรมธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้วและสร้างเจดีย์องค์เล็กๆ เป็นที่หมายไว้ ต่อมาในปีมหาศักราช 1098 (พ.ศ.1719) พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นพร้อมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ พระบรมธาตุเจดีย์มีลักษณะรูปแบบศิลปกรรมเป็นเจดีย์ทรงลังกาสูง 55.78 เมตร (กรมศิลปากรวัดเมื่อการบูรณะปลียอดทองคำเมื่อ พ.ศ. 2538) จากฐานบัวคว่ำบัวหงายถึงปลียอด 6.80 เมตร ใช้ทองคำเนื้อสิบหุ้มโดยรอบ
"ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช"
ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง บริเวณทิศเหนือของสนามหน้าเมือง มีเนื้อที่ 2 ไร่ ประกอบด้วยอาคาร 5 หลัง หลังกลางเป็นที่ประดิษฐานหลักเมืองออกแบบให้มีลักษณะคล้ายศิลปะศรีวิชัย เรียกว่า ทรงเหมราชลีลา วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2532 ส่วนอาคาร เล็กทั้งสี่หลังถือเป็น ศาลบริวารสี่ทิศ เรียกว่าศาลจตุโลกเทพ ประกอบด้วย พระเสื้อเมือง ศาลพระทรงเมือง ศาลพระพรหมเมือง และศาลพระบันดาลเมือง วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2535 ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2542 องค์เสาหลักเมืองทำด้วยไม้ตะเคียนทองที่ได้มาจากภูเขายอดเหลือง อันเป็นภูเขาลูกหนึ่งในทิวเขานครศรีธรรมราช ในท้องที่ตำบลกระหรอ กิ่งอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ขนาดความสูง 2.94 เมตร เส้นรอบวง 0.95 เมตร ลวดลายที่แกะสลัก ตั้งแต่ฐาน ซึ่งเป็นวงรอบเก้าชั้น มี 9 ลาย ส่วนบนของเสาเป็นรูปจุตคามรามเทพ (สี่พักตร์) หรือเทวดารักษามือง เหนือสุดเป็นเปลวเพลิงอยู่บนยอดพระเกตุ คือยอดชัยหลักเมือง รูปแบบการ แกะสลักจินตนาการจากความเชื่อในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งเคยมีอิทธิพลทางศิลปกรรมในภาคใต้และนครศรีธรรมราชแต่ครั้งโบราณ

สิ่งที่น่าสนใจในวัดพระธาตุ
1. พระบรมธาตุเจดีย์
2. วิหารพระทรงม้า
3. วิหารเขียน
4. วิหารโพธิ์ลังกา
5. วิหารสามจอม
6. วิหารพระแอด
7. วิหารทับเกษตร
8. วิหารคด
9. วิหารธรรมศาลา
10. วิหารหลวง
11. วิหารโพธิ์พระเดิม
12. พระอุโบสถ
13. เจดีย์รายรอบพระบรมธาตุเจดีย์
14. โบราณวัตถุภายในวัด

แผนที่และการเดินทาง
การเดินทางไปวัดพระธาตุ
1. การเดินทางโดนรถยนต์ส่วนตัว  จากเส้นทางสาย 401 ถึงตัวเมืองนครศรีธรรมราช ไปที่ถนนราชดำเนิน เมื่อถึงตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเด่นตระหง่านอยู่ด้านขวามือ
2. การเดินทางโดยรถสาธารณะ   จากตัวเมืองนครสามารถนั่งรถโดยสารสายสนามกีฬา-หัวถนน (รถมาสด้า) ค่าโดยสารประมาณ 10 บาท ไปลงหน้า
วัดพระธาตุ หรือจะนั่งรถมอเตอร์ไซต์รับจ้าง ประมาณ 20-50 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทาง

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดนครศรีธรรมราช

1.วัดพระธาตุนครศรีธรรมราช
2.ศาลหลักเมือง
3.กำเเพงเมืองเก่า
4.หอพระอิศวร
5.หอพระนารายณ์
6.พิพิธภัณฑ์เเห่งชาตินครศรีธรรมราช
7.อุทยานแห่งชาติเขาหลวงนครศรีธรรมราช

     สถานที่ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช


สมาชิกในกลุ่ม
นางสาวสุพัตรา  มวยดี 511380009
นางสาวดาริกา  สองสี  511380008
นางสาวสุวรรณา  จันทร์ขจร  511383001
 

วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

รายงานสถานที่ท่องเที่ยวที่สนใจ คือ  พระบรมธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่

1.ประวัติของพระบรมธาตุดอยสุเทพ
ประวัติความเป็นมาของดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
           วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการะบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำทักษิณาวัตรสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้ทรงโปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ
ในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูนได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร และตามตำนานได้กล่าวว่า ที่แห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้เสด็จมายังดอยอุจฉุปัพพต เพื่อฉันภัตตาหาร พร้อมด้วยพระสาวก ณ ที่นี้มีย่าแสะแม่ลูกได้ตักบาตรถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้า   พระองค์จึงมอบพระเกศาธาตุให้ประดิษฐานไว้ที่ดอยแห่งนี้   ตามประวัติพระเจ้ากือนา กษัตริย์พระองค์ที่ ๘ ของ ราชวงศ์เชียงราย ได้พระบรมสารีริกธาตุส่วนพระเศียร จากพระมหาเถรองค์หนึ่งที่ได้นำมาจากเมืองสุโขทัย ในชั้นต้น พระองค์ได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุนี้ไว้ที่วัดสวนดอก ต่อมาปรากฎว่า พระบรมสารีริกธาตุได้แสดงปาฏิหารย์ แยกออกเป็น ๒  องค์ ขนาดเท่าเดิม พระเจ้ากือนา จึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวขึ้นบนหลังช้างทรง  และตั้งบารมีเสี่ยงช้าง ช้างทรงได้เดินขึ้นไปบนดอยสุเทพ ครั้นถึงบริเวณที่ตั้งวัดพระบรมธาตุ ฯ ปัจจุบัน ช้างทรงนั้นก็กระทืบเท้าส่งเสียงร้องไปทั่วบริเวณ แล้วล้มลง ณ ที่นั้น พระเจ้ากือนา จึงให้สร้างพระบรมสารีริกธาตุขึ้น ณ ที่นั้น เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๒๗ เป็นเจดีย์แบบเชียงแสนผสมลังกา
2.ความสำคัญของดอยสุเทพ
ดอยสุเทพไม่เพียงแต่เป็นที่ตั้งของวัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ ปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ และพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ที่ประทับช่วงฤดูหนาวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทว่าดอยสูงแห่งนี้ยังสมบูรณ์ด้วย สภาพธรรมชาติทั้งพืชพรรณและสัตว์ป่า โดยเฉพาะนก ประกอบกับการเดินทางเข้าถึงสะดวก เพราะเชิงดอยอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่เพียง 6 กิโลเมตร และบนเส้นทางขึ้นสู่ยอดดอยประมาณ 16 กิโลเมตร ก็มีสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ให้เที่ยวชมได้ตลอด

3.ที่ตั้งของพระธาตุดอยสุเทพ

    ที่ตั้งดอยสุเทพ
ที่ตั้ง พระบรมธาตุดอยสุเทพเป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งของเมืองเชียงใหม่ ประดิษฐานอยู่บนดอยสุเทพ สูงจากระดับน้ำทะเล ๑๐๐๐ เมตร ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของตัวเมือง ห่างจากตัวเมืองเก่าประมาณ ๑๐ กิโลเมตร สามารถมองเห็นจากตัวเมืองได้ชัดเจน และเมื่อขึ้นไปอยู่ที่พระบรมธาตุ ก็จะเห็นตัวเมืองเชียงใหม่ได้ทั้งหมด มีบันไดนาคเจ็ดเศียรทอดจากทางขึ้นไปถึงซุ้มประตูวัด จำนวน ๓๐๐ ขั้น ครูบาศรีวิชัยได้บอกบุญชักชวนชาวเหนือ ให้ช่วยกันสร้างถนนจากเชิงดอยไปจนถึงยอดดอย ณ ที่ตั้งพระบรมธาตุ

4.สิ่งสำคัญรอบองค์พระธาตุ

สิ่งสำคัญรอบองค์พระธาตุมี 5 ประการที่สามารถท่องเที่ยวชมความงามได้

1..ฉัตร ๔ มุม : ทำด้วยทองเหลือง สร้างโดยพระเจ้ากาวิละ กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ มีความหมายว่า ฉัตรเป็นสัญลักษณ์ของความร่มเย็น ซึ่งแสดงให้ถึงความสงบร่มเย็นที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาที่แผ่ไปในทั้ง ๔ทิศ
2.สัตติบัญชร หรือ รั้วหอก : ที่อยู่รอบพระธาตุ ซึ่งมีที่มาจากเหตุการณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุของโทณพราหมณ์ เมื่อภายหลังการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เนื่องจากเกิดเหตุการณ์แย่งพระบรมสารีริกธาตุของเมืองต่างๆ เพื่อนำไปไว้บูชาประจำเมือง โทณพราหมณ์จึงทำหน้าที่แบ่ง โดยให้ทหารถือหอกรอบล้อมพระบรมสารีริกธาตุไว้ เพื่อป้องกันการแย่งชิง จึงเป็นที่มาของรั้วหอกรอบพระ

3.หอยอ : ลักษณะเหมือนวิหารขนาดเล็ก ประจำอยู่ ๔ ด้าน ของพระบรมธาตุ ภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ มีความหมายถึงการบูชาหรือสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า (ยอคุณ)บรมธาตุ

4.หอท้าวโลกบาล : ซึ่งเป็นหอยอดแหลมขนาดเล็ก ประจำอยู่ ๔ มุมของพระบรมธาตุ หมายถึง ที่ประดิษฐานของท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ซึ่งเป็นเทพที่ปกปักรักษาสิ่งสำคัญต่างๆ ๔ ทิศ ทำหน้าที่รักษาพระบรมธาตุ ได้แก่
1.ท้าวกุเวร หรือท้าวเวสสุวรรณ มียักษ์เป็นบริวาร ทำหน้าที่เฝ้ารักษาทิศเหนือ
2.ท้าวธตรัฐ มีพวกคนธรรพ์เป็นบริวาร ทำหน้าที่รักษาทิศตะวันออก
3. ท้าววิรูฬปักข์ มีฝูงนาคเป็นบริวาร ทำหน้าที่รักษาด้านทิศตะวันตก
              4. ท้าววิรุฬหก มีอสูรเป็นบริวาร ทำหน้าที่รักษาด้านทิศใต้


5.ไหดอกบัว หรือ ปูรณะฆะฏะ (ปูรณะ แปลว่า เต็ม,สมบูรณ์, ฆฏะ แปลว่า หม้อ) แปลว่า หม้อที่แสดงถึงความสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงความเจริญรุ่งเรื่องของพระพุทธศาสนาในล้านนาไทย

5.สถานที่พักในดอยสุเทพ-ดอยปุย

พักในดอยสุเทพ-ดอยปุย

ที่พักแรม/บ้านพัก    มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว 3 แห่ง ได้แก่

1. บ้านพักดอยสุเทพ (เลยวัดพระธาตุดอยสุเทพ 300 เมตร ทางขวามือ) มีบ้านพักบริการทั้งหมด 6 หลัง  พักได้หลังละ 6 - 8 คน หลังละ 2,500 - 3,000 บาท และเรือนแถว 2 หลัง พักได้ตั้งแต่ 2 - 20 คน ราคา 400 - 2,500 บาท ท่านสามารถติดต่อรับกุญแจได้ที่ ร้านสวัสดิการ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่อยู่ประจำตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับการขอเช่าเต็นท์ สามารถติดต่อได้ที่ร้านสวัสดิการเช่นกัน โดยจะต้องกรอกแบบฟอร์มการขอเช่าเต็นท์ และวางบัตรประจำตัวไว้ พร้อมชำระเงินค่าเช่าเต็นท์หรือเครื่องนอน ซึ่งเต็นท์ที่ขอเช่า ทางเจ้าหน้าที่ได้ทำการกางเต็นท์ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว สามารถเข้าพักได้ทันที กรณีที่มีความจำเป็นเข้าที่พักช้ากว่าเวลา 20.00 น. กรุณาโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อยืนยันการเข้าพักที่ 053-295041
. 2.  บ้านพักโซนที่ 2 น้ำตกมณฑาธาร (เลยอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย 3 กิโลเมตร ทางขวามือ) มีบ้านพักบริการทั้งหมด 2 หลัง พักได้หลังละ 6 คน หลังละ 1,500 บาท
  3. บ้านค่ายโซนที่ 3 น้ำตกหมอกฟ้า (ทางไปอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง เลยแยกตลาดแม่มาลัย ประมาณ 22 กิโลเมตร) มีบ้านทั้งหมด 4 หลัง พักได้หลังละ 15 คน หลังละ 1,500 บาท
4.สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์    อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว จำนวน 5 แห่ง ได้แก่
1. ลานกางเต็นท์ดอยปุย ห่างจากวัดพระธาตุดอยสุเทพ ประมาณ 10 กิโลเมตร สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 250 คน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถติดต่อ จัดจ้างรถโดยสาร จากบริเวณวัดพระธาตุดอยสุเทพ เพื่อเดินทางไปลานกางเต็นท์ดอยปุยได้ ในช่วงเวลาระหว่าง 08.00 - 16.30 น. เส้นทางไปลานกางเต็นท์จะค่อนข้างแคบ และลาดชัน ประกอบกับ เส้นทางบริเวณจากด่านตรวจดอยปุย ไปลานกางเต็นท์ดอยปุย จะเป็นทางลูกรังประมาณ 1 กิโลเมตร   นักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางไปกางเต็นท์บริเวณลานกางเต็นท์ดอยปุย ต้องเดินทางไปติดต่อก่อนเวลา 16.30 น. และต้องจัดเตรียมอาหารไปเอง
2. บ้านพักดอยสุเทพ เลยวัดพระธาตุดอยสุเทพ 300 เมตร สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 200 คน นักท่องเที่ยวสามารถสั่งอาหารจากร้านสวัสดิการของอุทยานฯ ได้ หรือสำรองอาหารล่วงหน้า ได้ที่ 053-295041

3. น้ำตกมณฑาธาร อยู่ระหว่างเส้นทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ ห่างจากอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ประมาณ 3 กิโลเมตร จะพบกับด่านเก็บค่าธรรมเนียม และเดินทางเข้าไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 150 คน
. น้ำตกหมอกฟ้า ท้องที่อำเภอแม่แตง ทางไปอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 150 คน
5. น้ำตกแม่สา ท้องที่อำเภอแม่ริม สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 50 คน มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยวมากมาย แต่ควรจะไปถึงก่อนเวลา 16.30 น.
6.ค่ายเยาวชน มีค่ายพักเยาวชน จำนวน 4 หลัง ให้บริการบริเวณน้ำตกหมอกฟ้า พักได้หลังละ 15 คน หลังละ 1,500 บาท สามารถสำรองที่พักได้ที่ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-210244 หรือ e-mail / msn : doisuthep_pui@hotmai.com
ที่จอดรถ มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ดังนี้
1.บริเวณน้ำตกห้วยแก้ว สามารถรองรับรถได้ประมาณ 30 คัน
2. บริเวณน้ำตกมณฑาธาร สามารถรองรับรถได้ประมาณ 50 คัน
3. บริเวณบ้านพักดอยสุเทพ (เลยวัดพระธาตุดอยสุเทพ 300 เมตร) สามารถรองรับรถได้ประมาณ 40 คัน
4. บริเวณลานกางเต็นท์ดอยปุย สามารถรองรับรถได้ประมาณ 50 คัน
5. บริเวณน้ำตกหมอกฟ้า สามารถรองรับรถได้ประมาณ 30 คัน
6. บริเวณน้ำตกแม่สา สามารถรองรับรถได้ประมาณ 100 คัน
7. บริเวณน้ำตกตาดหมอก สามารถรองรับรถได้ประมาณ 10 คัน

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว    มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวให้ข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ ซึ่งศูนย์บริการนักท่องเที่ยวจะเปิดให้บริการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ นอกจากนี้ยังมีบริการห้องสมุด และฉายสไลด์แก่ผู้ที่สนใจอีกด้วย นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ตามศูนย์บริการที่ได้จัดไว้ จำนวน 4 ศูนย์ ได้แก่
1ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (น้ำตกมณฑาธาร)
2. ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (น้ำตกแม่สา)

6.สถานที่ท่องเที่ยว
1.น้ำตกมณฑาธาร ท่านสามารถนำรถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ส่วนตัว หรือรถมินิบัส เข้าไปบริเวณน้ำตกมณฑาธารได้ ซึ่งน้ำตกมณฑาธาร จะอยู่ห่างจากอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ประมาณ 3 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวา แวะชำระค่าธรรมเนียมเข้าชมน้ำตก ก่อนเดินทางอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกมณฑาธาร
2. วัดพระธาตุดอยสุเทพ ท่านสามารถนำรถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ส่วนตัว หรือรถบัส ไปจอดบริเวณลานจอดรถของวัดพระธาตุดอยสุเทพ หรือจะเช่า - เหมา รถยนต์โดยสาร บริเวณหน้าอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย / สวนสัตว์เชียงใหม่
3. บ้านพักอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จะอยู่ห่างจากวัดพระธาตุดอยสุเทพ ประมาณ 300 เมตร ทางขวามือ รถบัส สามารถเข้าถึงบ้านพักอุทยานแห่งชาติได้
4.พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ อยู่ห่างจากวัดพระธาตุดอยสุเทพ ประมาณ 4 กิโลเมตร รถบัสไม่สามารถเข้าถึงได้ หากท่านไม่ได้นำรถมาเอง ต้องเช่า-เหมารถจากบริเวณหน้าวัดพระธาตุดอยสุเทพ ซึ่งรถจะบริการนำเที่ยวพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ยอดดอยปุย และบ้านม้งดอยปุยเป็นต้น

7.แหล่งท่องเที่ยวของดอยสุเทพ :: ด้านธรรมชาติที่สวยงาม
1.น้ำตกห้วยแก้ว เป็นน้ำตกเล็กๆ สูงประมาณ 10 เมตร เกิดจากลำน้ำห้วยแก้ว อยู่บริเวณเชิงดอยใกล้ทางขึ้นดอยสุเทพ เหนือน้ำตกห้วยแก้วขึ้นไปเล็กน้อย จะเป็น วังบัวบานเป็นสถานที่ที่กล่าวถึงตำนานรักอันอมตะที่ลือชื่อของสาวเหนือ และผาเงิบ ซึ่งอยู่เหนือวังบัวบานประมาณ 100 เมตร ใช้เป็นสถานที่พักผ่อน บริเวณเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ
2.น้ำตกมณฑาธาร น้ำตกมณฑาธารหรือน้ำตกสันป่ายาง เป็นน้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่งในเขตอุทยานฯ สูงกว่าระดับน้ำทะเล 730 เมตร มีทั้งหมด 9 ชั้น โดยมีน้ำตกไทรย้อย เป็นน้ำตกชั้นสูงสุด ที่ไหลมาจากห้วย
3.น้ำตกแม่สา เป็นน้ำตกที่สวยงาม มีน้ำไหลตลอดปี มีทั้งหมด 10 ชั้นแต่ละชั้นห่างกันประมาณ 100-500 เมตร โดยเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปตามถนนสายแม่ริม-สะเมิง ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร น้ำตกแม่สา เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ที่ปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่ทั่วบริเวณ
บริเวณน้ำตกแม่สา ไม่มีบ้านพัก แต่มีสถานที่กางเต็นท์ และมีเต็นท์ให้เช่า ท่านสามารถติดต่อได้ที่ 053-229731 ซึ่งสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 50 คน
                แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงกับน้ำตกแม่สา ส่วนมากเป็นแหล่งท่องเที่ยวของเอกชน ซึ่งมีทั้ง ฟาร์มผีเสื้อ ฟาร์มงู ฟาร์มสุนัข โรงเรียนลิง กิจกรรมขี่ม้า การเล่นบันจี้จั๊ม การขี่รถบักจี้ ออฟโรด หรือเยี่ยมชมสวนพฤกษศาสตร์สิริกิติ์ ซึ่งอยู่ห่างจากน้ำตกแม่สาประมาณ 5 กิโลเมตร
น้ำตกตาดหมอก เป็นน้ำตกขนาดกลาง เกิดจากลำห้วยแม่แรม อยู่ห่างจากตัวอำเภอแม่ริม ประมาณ 5 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายแม่ริม-สะเมิง แล้วแยกไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร
การเดินทางไปน้ำตกตาดหมอก ต้องเดินทางโดยรถส่วนตัวเท่านั้น เนื่องจากรถบัสไม่สามารถเข้าถึง และไม่มีรถยนต์โดยสารวิ่งผ่าน
น้ำตกหมอกฟ้า เป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งของอุทยานฯ มีน้ำไหลตลอดปี ตั้งอยู่ในเขต อ.แม่แตง โดยเดินทางไปตามเส้นทางสายเชียงใหม่-ฝาง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107) ถึงทางแยกบ้านแม่มาลัย อ.แม่แตง เลี้ยวซ้ายตามถนนสายแม่มาลัย-ปาย (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1095) รวมระยะทางประมาณ 58 กิโลเมตร ซึ่งการเดินทางไปน้ำตกหมอกฟ้า หากต้องการขึ้นรถโดยสารประจำทาง สามารถขึ้นได้ที่สถานีขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ (อาเขต) เพื่อขึ้นรถสายเชียงใหม่ - ปาย แล้วลงรถตรงปากทางเข้าน้ำตกหมอกฟ้า แล้วต้องเดินเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร หรือหากนำรถไปเองก็สามารถนำไปได้ ยกเว้นรถบัส เนื่องจาก ระยะทางแคบและลาดชัน

ยอดดอยปุย ยอดดอยปุย สูง 1,658 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นจุดสูงสุดของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี บนยอดดอยปกคลุมด้วยป่าสนเขาผืนใหญ่ และเป็นแหล่งดูนกที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง ดอยสุเทพและดอยปุยเป็นถิ่นอาศัยของนกมากกว่า 300 ชนิด เช่น ไก่ฟ้าหลังขาว นกกางเขนน้ำหลังดำ นกศิวะปีกสีฟ้า ฯลฯ ในช่วงฤดูหนาวยังมีนกอพยพบินย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยอีกเป็นจำนวนมาก หลายชนิดเป็นนกหายาก โดยเฉพาะนกเขน นกจับแมลงสีคราม นกเดินดงอกลาย นกปีกแพรสีม่วง ฯลฯ สำหรับจุดดูนกที่น่าสนใจจุดอื่นๆ เช่น บริเวณบ้านพักดอยสุเทพ ตามเส้นทางไปน้ำตกมณฑาธาร เส้นทางไปห้วยคอกม้า และบริเวณสันกู่ใกล้กับยอดดอยปุย มีสถานที่สำหรับกางเต็นท์ ซึ่งสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 250 คน ซึ่งห่างจากพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ประมาณ 7 กิโลเมตร เส้นทางค่อนข้างแคบและลาดชัน สำหรับผู้ที่ไม่ชินเส้นทาง ควรเดินทางไปถึงก่อนเวลา 17.00 น. เพื่อความสะดวกและปลอดภัย

8.ท่องเที่ยว :: ด้านวัฒนธรรมและประเพณี
1.วัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่มีความสำคัญทางศาสนาและประวัติศาสตร์ของนครเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนดอยสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.1927 มีบันไดนาคทอดยาวขึ้นไปสู่วัด 306 ขั้น ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานขององค์เจดีย์ทรงมอญ ที่ใต้ฐานพระเจดีย์มีพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรจุอยู่ วัดพระธาตุดอยสุเทพมีชื่อเต็มว่า วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพวรวิหารซึ่งจัดได้ว่าเป็นปูชนียสถาน ที่แสดงออกถึงศิลปกรรมล้านนาไทยที่สำคัญคู่เมืองเชียงใหม่
2.อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่บุกเบิกสร้างถนนขึ้นไปบนดอยสุเทพ เมื่อปี พ.ศ.2477 พระครูบาศรีวิชัย ขณะที่จำพรรษาอยู่ที่วัดศรีโสดา เริ่มชักชวนประชาชนสร้างทาง จากเชิงดอยถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพ รวมระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร โดยใช้เวลาสร้างประมาณ 6 เดือน ต่อมา ชาวเชียงใหม่จึงได้สร้าง อนุสาวรีย์พระครูบาศรีวิชัย ไว้เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อสักการบูชาสืบไป


9.แหล่งท่องเที่ยวด้านศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ
  อุทยานดอยสุเทพ-ปุย มีเส้นทางเดินป่า และเส้นทางขับรถ เพื่อใช้ในการศึกษา และชื่นชมความหมาย
- เส้นทางเดินป่าสายศูนย์เกษตรภาคเหนือ-ผาลาด-วัดพระธาตุดอยสุเทพ ซึ่งจัดได้ว่า เป็นเส้นทางขึ้นดอยสุเทพ สายประวัติศาสตร์ ที่ชาวเชียงใหม่สมัยก่อนใช้เดินทาง เพื่อขึ้นนมัสการพระธาตุดอยสุเทพ ในช่วงเทศกาลไว้พระธาตุ เพราะถือว่า จะได้บุญกุศลมากกว่าขึ้นนมัสการโดยรถยนต์ เป็นต้น
- เส้นทางเดินป่าสายน้ำตกมณฑาธาร-ถนนศรีวิชัยตอนบน-ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เป็นเส้นทางเดินเท้าเพื่อชมสภาพป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง (ป่ายางปาย) และเพื่อชมนกป่าที่สำคัญ
- เส้นทางเดินป่าบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ-น้ำตกไทรย้อย เพื่อชมสภาพป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น
- เส้นทางผาดำ-ห้วยคอกม้า บริเวณหลังพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ เป็นเส้นทางเดินเท้าเพื่อศึกษาข้อมูล ทางด้านนิเวศวิทยาป่าดิบเขา และการจัดการต้นน้ำ
- เส้นทางเครือข่ายคมนาคมเชื่อมระหว่างหมู่บ้านชาวเขาต่างๆ เพื่อการท่องเที่ยวโดยรถยนต์ เพื่อชื่นชมธรรมชาติของพื้นที่ ในใจกลางของอุทยานแห่งชาติ เช่น
1.เส้นสำหรับจักรยานเสือภูเขา ช่วงพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์-ยอดดอยปุย
2. เส้นทางดอยปุย-ขุนช่างเคี่ยน-แม่สาใหม่
3. เส้นทางห้วยตึงเฒ่า-ขุนช่างเคี่ยน-แม่สาใหม่
4. เส้นทางแม่สาใหม่-ขุนแม่ลวด-ขุนแม่ไน



                                                                       
                                                                         นางสาวดาริกา   สองสี  511380008
                                                                          นางสาวสุพัตรา    มวยดี  511380009
                                                                         นางสาวสุวรรณา    จันทร์ขจร  511383001