วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 3

บทที่ 3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางนักท่องเที่ยว
แรงจูงใจ
     แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวแตกต่างไปจากแรงจูงใจในวิชาจิตวิทยา  ซึ่งเป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพของบุคคลแรงจูงใจทางด้านการท่องเที่ยว หรือแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวเป็นแนวคิดที่เป็นแบบลูกผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิทยาผสมกับแนวคิดทางด้านสังคมวิทยา  แรงจูงใจจึงหมายถึงเครือข่ายทั้งหมดของพลังทางวัฒนธรรมและพลังทางชีววิทยา  ซึ่งเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมทางการท่องเที่ยว
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1.ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น
กล่าวว่ามนุษย์เป็นสัตว์ทีมีความต้องการและมนุษย์จะแสดงพฤติกรรมต่างๆ  เพื่อที่จะสนองความต้องการและความต้องการจำเป็นต่างๆ  ความต้องการของคนเราจะไม่มีที่สิ้นสุดเมื่อความต้องการอย่างหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว  ความต้องการอีกระดับก็จะเกิดขึ้นมาแทนที่  Maslow ได้เสนอลำดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ทั้งหลายรวม  5  ขั้น
ความต้องการของมนุษย์มีทั้งหมด 5 ขั้นดังนี้
1.ความต้องการความสำเร็จแห่งตน
2.ความต้องการที่จะมีเกียรติยศชื่อเสียง
3.ความต้องการทางด้านสังคม
4.ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต
5.ความต้องการทางด้านสรีรวิทยา

2. ทฤษฎีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง
ผู้นำเสนอคือ  Philip  Pearce โดยประยุกต์มาจากทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น  แต่แตกต่างตรงที่ในลำดับขั้นแห่งความต้องการของนักท่องเที่ยวในขั้นที่ 1 หรือความต้องการทางสรีรวิทยา ถึงขั้นที่ 4 หรือความต้องการทางด้านเกียรติยศชื่อเสียงนั้น  ในแต่ละขั้นเกิดขึ้นจากบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง ส่วนหนึ่งและมีอีกส่วนหนึ่งเป็นการชักนำหรือกำหนดโดยผู้อื่น  ยกเว้นความต้องการในขั้นสูงสุดหรือความต้องการความสำเร็จแห่งตนหรือความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจสูงสุด  เป็นขั้นที่เกิดจากความต้องการของตัวบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง
3.แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น
Crompton  ได้ทำการวิจัย เพื่อศึกษาถึงแรงจูงใจที่ผลักดันให้คนเรามีการเดินทางท่องเที่ยว เขาได้ทำวิจัยโดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวที่เป็นคนชั้นกลาง  39 คน สรุปผลการวิจัยของเขาออกมาเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เกิดการเดินทางที่เขาเรียกว่า  วาระซ่อนเร้น เนื้อหาสาระบางส่วนมีเนื้อหาคล้ายกับทฤษฎีแรงจูงใจของ Maslow
แรงจูงใจวาระซ่อนเร้นมี  7 ประเภท
1.            การหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมจำเจ
2.            การสำรวจและการประเมินตัวเอง
3.            การพักผ่อน
4.            ความต้องการเกียรติภูมิ
5.            ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม
6.            กระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
7.            การเสริมสร้างการปะทะสังสรรค์ทางสังคม


4. แรงจูงใจทางการท่องเที่ยวในทัศนะของ  Swarbrooke
จำแนกแรงจูงใจที่ทำให้คนเดินทางออกเป็น 6 ชนิดดังนี้
1.            แรงจูงใจทางด้านสรีระหรือทางกายภาพ
2.            แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
3.            การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง
4.            การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้เพื่อสถานภาพ
5.            แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง
6.            แรงจูงใจส่วนบุคคล
        โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
หมายถึง  องค์ประกอบพื้นฐานในการรองรับการท่องเที่ยวทั้งระบบ  ถือเป็นส่วนสนับสนุนให้การท่องเที่ยวสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี  และทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
โครงสร้างพื้นฐานหลักๆในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่
1.            ระบบไฟฟ้า  จะต้องมีใช้อย่างพอเพียง  ทั่วถึง และใช้การได้ดีไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อเกิดอันตราย
2.            ระบบประปา  ควรมีความสะอาด ถูกหลักอนามัย  มีปริมาณเพียงพอ
3.            ระบบสื่อสารโทรคมนาคม  รวมถึงโทรศัพท์มีสายและไร้สาย  ไปรษณีย์ โทรเลข
โทรสาร และไปรษณีย์อีเลกโทรนิกส์  ต้องมีความรวดเร็วและสะดวก
4.            ระบบการขนส่ง   ประกอบไปด้วย
·       ระบบการเดินทางทางอากาศ
·       ระบบการเดินทางทางบก
·       ระบบการเดินทางทางน้ำ
5.            ระบบสาธารณสุข   ควรมีสาธารณสุขที่ทันสมัย  สะดวก  รวดเร็ว
ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค
1.            ปัจจัยทางภูมิศาสตร์    เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติได้แก่
1.2    ลักษณะภูมิประเทศ  ที่ปรากฏอยู่ตามส่วนต่างๆของโลก จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก  การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกมีได้  2 ลักษณะ
·       การเปลี่ยนแปลงจากภายในของเปลือกโลก เช่น ภูเขาไฟระเบิด
·       การเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวโลก เช่น  เนินทราย
                1.2 ลักษณะภูมิอากาศ   พื้นที่ที่ตั้งอยู่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาตามเส้นแลตติจูด  อากาศแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกัน
ปัจจัยทางวัฒนธรรม
หมายถึง  วิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคม   วัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขและกาลเวลาเมื่อมีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่  วิธีใหม่ที่ใช้แก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของสังคมได้ดีกว่า